I Love KittY

วันพฤหัสบดีที่ 10 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน

คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
     คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (Computer Assisted Instruction : CAI)เป็นกระบวนการเรียนการสอน โดยใช้สื่อคอมพิวเตอร์ ในการนำเสนอเนื้อหาเรื่องราวต่างๆ มีลักษณะเป็นการเรียนโดยตรง และเป็นการเรียนแบบมีปฏิสัมพันธ์ (Interactive) คือ
องค์ประกอบสำคัญของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- เสนอสิ่งเร้าให้กับผู้เรียน ได้แก่ เนื้อหา ภาพนิ่ง คำถาม ภาพเคลื่อนไหว
- ประเมินการตอบสนองของผู้เรียน ได้แก่ การตัดสินคำตอบ
- ให้ข้อมูลย้อนกลับเพื่อการเสริมแรง ได้แก่ การให้รางวัล หรือ คะแนน
- ให้ผู้เรียนเลือกสิ่งเร้าในลำดับต่อไป
ความสำคัญของ CAI
     CAI (Computer Assisted Instruction) หรือ คอมพิวเตอร์ช่วยสอนหมายถึงสื่อการเรียนการสอนทางคอมพิวเตอร์รูปแบบหนึ่งที่นิยมบันทึกลงบนแผ่นCDROM ซึ่งสามารถนำเสนอสื่อประสมได้แก่ ข้อความ ภาพนิ่ง กราฟิกแผนภูมิที่ใกล้เคียงกับการสอนจริงมากที่สุดโดยการนำเสนอเนื้อหาทีละจอภาพ ซึ่งรูปแบบจะแตกต่างกันขึ้นอยู่กับธรรมชาติ และโครงสร้างของเนื้อหา โดยมีเป้าหมายสำคัญคือสามารถดึงดูดความสนใจและกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความต้องการที่ จะเรียนรู้ CAIจึงเป็นสื่อการศึกษายุคใหม่ที่มีประสิทธิภาพมากและยังมีข้อได้เปรียบเหนือสื่ออื่นๆด้วยกันหลายประการและสามารถตอบสนองความแตกต่างระหว่างผู้เรียนซึ่งผู้เรียนจะมีปฏิสัมพันธ์หรือการตอบโต้ พร้อมทั้งได้รับผลย้อนกลับ (feedbackอย่างต่อเนื่องกับเนื้อหาและกิจกรรมต่างๆจึงง่ายต่อการประเมินและตรวจสอบความเข้าใจของผู้เรียนได้ตลอดเวลาขณะเดียวกันผู้เรียนสามารถนำ CAI ไปใช้เรียนด้วยตนเองโดยปราศจากข้อจำกัดด้านเวลา และสถานที่ในการดำเนินการศึกษาค้นคว้า CAIจึงเป็นสื่อสำคัญที่ช่วยส่งเสริมการเรียนรู้ในลักษณะที่เน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลางได้เป็นอย่าง
ประโยชน์ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
1. สามารถตอบสนองการเรียนรู้ส่วนบุคคลได้ ซึ่งผู้เรียนสามารถเรียนรู้ตามระดับความสามารถและอัตราความเร็วตามที่ต้องการ
2. สามารถสร้างแรงจูงใจในการเรียนโดยการใช้สี เสียงและภาพรวมทั้งการออกแบบโปรแกรมที่น่าสนใจ
3. สามารถคิดคำนวณได้รวดเร็วและแม่นยำ ช่วยให้ผู้เรียนเรียนวิชาคณิตศาสตร์ได้อย่างมีประสิทธิภาพ
4. ช่วยสอนความคิดรวบยอด (Concept) และทำให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้ได้เป็นอย่างดี
5. สามารถเรียนได้อย่างไม่จำกัดเวลา และทบทวนได้ตามที่ ต้องการ
6. สามารถจัดแผนการสอนได้ดี ด้วยการที่ผู้สอนสร้างโปรแกรมที่มีขั้นตอนและ
ระบบที่ดี เช่น มีจุดมุ่งหมาย สอนเนื้อหา ทดสอบและให้ผลย้อนกลับ และยังสามารถเก็บ
ข้อมูลผู้เรียน วิเคราะห์และเสนอผลการประเมินได้
แนวทางการนำไปใช้
      หลายปีที่ผ่านมา สถาบันการศึกษาต่าง ๆ ได้ให้ความสำคัญต่อการพัฒนา ปรับปรุงเพิ่มเติมเทคโนโลยีเพื่อให้สถาบันและบุคลากรของตนเองได้เรียนรู้และก้าวทันต่อการเปลี่ยนแปลงที่ไม่หยุดยั้งของเทคโนโลยีในยุปัจจุบันด้วยคุณสมบัติเฉพาะที่แตกต่างกันไปของเทคโนโลยีแต่ละชนิดนั้นทำให้สามารถจัดกระบวนการเรียนการสอนกิจกรรมได้หลากหลายรูปแบบและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
      คอมพิวเตอร์ช่วยสอน (CAI) เป็นหนึ่งในสื่อเทคโนโลยีที่ถูกคัดเลือกมาเพื่อพัฒนาประสิทธิภาพของการคิด
การเรียนรู้ และการค้นคว้าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งปัจจุบัน CAI ได้กลายเป็นสื่อที่มีประสิทธิภาพสูงสุดสื่อหนึ่ง ที่ได้รับ
ความนิยมอย่างแพร่หลายของวงการศึกษาไทยด้วยคุณสมบัติพิเศษ ของ CAI ที่มีข้อได้เปรียบสื่ออื่น ๆ สามารถ
แสดงผลได้หลายรูปแบบอย่างต่อเนื่อง ไม่ว่าจะเป็นภาพเคลื่อนไหว เสียงประกอบ และการปฏิสัมพันธ์ (Interactive) บวกกับความสามารถในการทำงานของเครื่องคอมพิวเตอร์นั้น ๆ ทำให้เป็นสื่อที่ตอบสนองการเรียนการสอน ในรูปแบบเน้นนักเรียนเป็นศูนย์กลาง (Child Center) ได้อย่างดียิ่งเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ศึกษาค้นคว้า ด้วยกระบวนการที่สามารถคิดเป็น ทำเป็น และแก้ปัญหาเป็น เพื่อเป้าหมายให้นักเรียนเป็นคนเก่งคนดี และดำรงตนอยู่ในสังคมอย่างมีความสุข
       ดังนั้น หากนำ CAI ที่ได้รับการคัดเลือกตามคุณสมบัติที่ดีของสื่อนั้น มาประกอบกับการจัดเตรียมห้องเรียน
หรือศูนย์ค้นคว้าที่ถูกออกแบบให้เหมาะสมกับสภาพแวดล้อมที่มอยู่ก็สามารถก่อให้เกิดประโยชน์และประสิทธิภาพในอันที่จะพัฒนาตามเป้าหมายที่ได้ตั้งไว้ให้บรรลุได้ในเวลาอันรวดเร็วยิ่งขึ้นไป
 
          1 ขั้นการเตรียมการ ( Preparation)
ขั้นตอนการเตรียมนี้ ผู้ออกแบบ จะต้องเตรียมพร้อม ในเรื่องของ ความชัดเจน ในการกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ เตรียมการโดย รวบรวมข้อมูล เรียนรู้เนื้อหา เพื่อให้เกิดการสร้าง หรือระดมความคิด ขั้นตอนการเตรียมนี้ เป็นขั้นตอนที่สำคัญ มากตอนหนึ่ง ที่ผู้ออกแบบต้องใช้เวลา ให้มาก เพราะการเตรียมพร้อม ในส่วนนี้ จะทำให้ขั้นตอนต่อไป ในการออกแบบ เป็นไปอย่างต่อเนื่อง และมีประสิทธิภาพ
- กำหนดเป้าหมายและวัตถุประสงค์ ( Determine Goal Objectives) การกำหนดเป้าหมาย และวัตถุประสงค์ ของบทเรียน คือการตั้งเป้าหมายว่า ผู้เรียนจะสามารถ ใช้บทเรียนนี้ เพื่อศึกษาในเรื่องใด และลักษณะใด คือ เป็นบทเรียนหลัก เป็นบทเรียนเสริม เป็นแบบฝึกหัดเพิ่มเติม หรือเป็นแบบทดสอบ ฯลฯ รวมทั้งการกำหนด วัตถุประสงค์ ในการเรียน ว่า เมื่อผู้เรียน เรียนจบแล้ว จะสามารถทำอะไรได้บ้าง และพิจารณาครอบคลุม ถึงวิธีการในการ ประเมินผล ควบคู่กันไป เช่น รูปแบบคำถาม หรือจำนวนข้อคำถาม
- รวบรวมข้อมูล (Collect Resource) การรวบรวมข้อมูล หมายถึง การเตรียมพร้อมทางด้าน ทรัพยากร สารสนเทศ ทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง ทั้งในส่วนเนื้อหา การพัฒนา และออกแบบบทเรียน และสื่อ ในการเสนอบทเนียน ได้แก่ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา รวมถึง ตำรา หนังสือ วารสารทางวิชาการ หนังสืออ้างอิง สไลด์ ภาพต่างๆ หนังสือการออกแบบบทเรียน กระดาษ สำหรับวาด สตอรี่บอร์ด สื่อสำหรับการทำ กราฟฟิค ผู้เชี่ยวชาญด้าน การออกแบบบทเรียน คอมพิวเตอร์ คู่มือต่างๆ ทั้งของคอมพิวเตอร์ และของโปรแกรมช่วยสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ต้องการใช้ และผู้เชี่ยวชาญ การสร้าง คอมพิวเตอร์ช่วยสอน
- เรียนรู้เนื้อหา ( Learn Content) ผู้ออกแบบบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน จำเป็นต้องเรียนรู้เนื้อหาด้วย การเรียนรู้เนื้อหา อาจทำได้หลายลักษณะ เช่น สัมภาษณ์ผู้เชี่ยวชาญ การอ่านหนังสือ หรือเอกสารอื่นๆ ที่เกี่ยวเนื่องกับ เนื้อหาของบทเรียน การเข้าใจเนื้อหา อย่างถูกต้อง ลึกซึ้ง ทำให้สามารถ ออกแบบบทเรียน ในลักษณะที่ท้าทาย ผู้เรียน ในการสร้างสรรค์ ได้
- สร้างความคิด (Generate Ideas) การสร้างความคิด คือ การระดมสมอง ซึ่งหมายถึง การกระตุ้นให้เกิดการใช้ความคิดสร้างสรรค์ เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ จำนวนมาก จากทีมงาน ในระยะเวลาอันสั้น เพื่อให้ได้ข้อคิดเห็นต่างๆ อันจะนำมาซึ่ง แนวคิดที่ดี น่าสนใจ
          2 ขั้นตอนการออกแบบบทเรียน ( Design Instruction)
ขั้นตอนที่ 2 เป็นขั้นตอนที่สำคัญที่สุด ขั้นตอนหนึ่ง ในการกำหนดว่า บทเรียนจะออกมาในลักษณะใด
- ทอนความคิด ( Elimination of Ideals) หลังจากระดมสมองแล้ว นักออกแบบ จะนำความคิด ทั้งหมด มาประเมินดูว่าข้อคิดใดที่น่าสนใจ การทอนความคิด เริ่มจากการนำข้อคิด ที่ไม่อาจปฏิบัติได้ออกไป และรวบรวมความคิดที่น่าสนใจ ที่เหลืออยู่นั้น มาพิจารณาอีกครั้ง ซึ่งในช่วงการพิจารณาอีกครั้ง อาจรวมไปถึง การซักถาม อภิปรายถึงรายละเอียด และขัดเกลา ข้อคิดต่างๆ
- วิเคราะห์งาน และแนวคิด ( Task and Concept Analysis) การวิเคราะห์งาน เป็นการวิเคราะห์ขั้นตอน เนื้อหา ที่ผู้เรียน จะต้องศึกษา จนทำให้เกิดการเรียนรู้เพียงพอ ส่วนการวิเคราะห์แนวคิด คือขั้นตอนในการวิเคราะห์เนื้อหา ซึ่งผู้เรียนต้องศึกษา อย่างพินิจ พิจารณา ทั้งนี้เพื่อให้ได้มาซึ่ง เนื้อหาที่เหี่ยวข้องกับการเรียน และเนื้อหาที่มีความชัดเจนเท่านั้น การคิดวิเคราะห์เนื้อหา อย่างละเอียด รวมไปถึงการนำเนื้อหาทั้งหมด ที่เกี่ยวข้อง มาพิจารณา อย่างละเอียด และตัดเนื้อหาในสิ่งที่ไม่เกี่ยวข้องออกไป หรือที่ทำให้ผู้เรียนสับสนได้ง่ายออกไป การวิเคราะห์งาน และการวิเคราะห์แนวคิด ถือว่าเป็นการวิเคราะห์ ที่มีความสำคัญมาก ทั้งนี้ เพื่อหาลักษณะการเรียนรู้ ( Principles of learning ) ที่เหมาะสมของเนื้อหานั้นๆ และเพื่อให้ได้มา ซึ่งแผนงาน สำหรับออกแบบบทเรียนที่มีประสิทธิภาพ
- การออกแบบบทเรียนขั้นแรก ( Preliminary lesson Description) ผู้ออกแบบ จะต้องนำงาน และแนวคิดทั้งหลาย ที่ได้มานั้น มาผสมผสานให้กลมกลืน และอกแบบให้เป็นบทเรียนมีประสิทธิภาพ โดยผสมผสานงาน และแนวคิดเหล่านี้ จะต้องทำภายใต้ทฤษฎี การเรียนรู้ โดยวิเคราะห์การเรียน การสอน ซึ่งประกอบด้วย การกำหนดประเภท ของการเรียนรู้ ประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การกำหนดขั้นตอน และทักษะที่จำเป็น การกำหนดปัจจัยหลัก ที่ต้องคำนึงถึง ในการออกแบบคอมพิวเตอร์ช่วยสอน แต่ละประเภท และสุดท้ายคือ การจัดระบบความคิด เพื่อให้ได้มาซึ่ง การออกแบบลำดับ ( sequence) ของบทเรียนที่ดีที่สุด ผู้ออกแบบควรใช้เวลา ในส่วนนี้ให้มากที่สุด โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการสร้างสรรค์งาน หรือกิจกรรมต่างๆ ของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่ผู้เรียนต้องมีปฎิสัมพันธ์ด้วย เพื่อให้ผู้เรียนมีคามสนใจต่อการเรียนได้อย่างสม่ำเสมอ และต่อเนื่อง นอกจากนี้ ต้องใช้เวลาให้มาก ในส่วนของการออกแบบลำดับของการนำเสนอของบทเรียน เพื่อให้ได้มาซึ่ง โครงสร้างของ คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่สามารถ ตอบสนองความแตกต่างระหว่างบุคคลของ ผู้เรียนได้จริง
- ประเมิน และแก้ไขการออกแบบ ( Evaluation and revision of the design) การประเมินระหว่างการออกแบบ เป็นสิ่งที่มีความสำคัญมาก ในการออกแบบบทเรียน อย่างมีระบบ หลังจากการออกแบบแล้ว ควรมีการประเมินโดยผู้เชี่ยวชาญเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญการออกแบบ และโดยผู้เรียน การประเมินนี้ อาจหมายถึง การทดสอบว่า ผู้เรียน จะสามารถบรรลุเป้าหมายหรือไม่ การรวบรวมทรัพยากรทางด้านข้อมูลต่างๆ มากขึ้น การหาความรู้เกี่ยวกับเนื้อหา เพิ่มขึ้น การทอนความคิดออกไปอีก การปรับแก้ การวิเคราะห์งาน หรือการเปลี่ยนประเภทของคอมพิวเตอร์ช่วยสอน
          3 ขั้นตอนการเขียนผังงาน ( Flow-chart Lesson)
ผังงานคือชุดของสัญลักษณ์ต่างๆ ซึ่งอธิบาย ขั้นตอนการทำงานของโปรแกรม เป็นการ นำเสนอ ลำดับขั้นตอน โครงสร้างของบทเรียน คอมพิวเตอร์ ช่วยสอน และทำหน้าที่เสนอข้อมูล เกี่ยวกับโปรแกรม เช่น อะไรจะเกิดขึ้น เมื่อผู้เรียนตอบ คำถามผิด หรือ เมื่อไรที่จะมีการจบบทเรียน
....การเขียนผังงาน มีรได้หลายระดับ แตกต่างกันไป แล้วแต่ความละเอียดของแต่ละผังงาน การเขียนผังงานนั้น ขึ้นอยู่กับประเภท ของบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ด้วย เช่น ประเภทติวเตอร์ ประเภทแบบฝึกหัด แบบทดสอบ ควรใช้ผังงานในลักษณะธรรมดา ซึ่งไม่ต้องลงรายละเอียด โดยแสดงภาพรวม และลำดับของบทเรียนเท่าที่จำเป็น แต่ลำหรับบทเรียน ที่มีความซับซ้อน เช่นบทเรียนประเภทการจำลอง หรือประเภทเกม ควรมีผังงานให้ละเอียด เพื่อความชัดเจน โดยมีการแสดงขั้นตอน วิธี ( Algorithm) การทวนซ้ำของโปรแกรม กฎ หรือกฏิกา ของเกม อย่างละเอียดด้วย
          4 ขั้นตอนการสร้าง สตอรี่บอร์ด ( Create Storyboard)การสร้าง สตอรี่บอร์ด เป็นขั้นตอนของการนำเสนอเนื้อหา และลักษณะของการนำเสนอเนื้อหา และลักษณะของการนำเสนอด้วยข้อความ ภาพ รวมทั้งสื่อในรูปแบบ มัลติมีเดีย ลงบนยกระดาษ ก่อนที่จะนำเสนอ บนหน้าจอ คอมพิวเตอร์ ต่อไป ในขั้นนี้ควรมีการประเมิน และทบทวน แก้ไขบทเรียน จากสตอรี่บอร์ดนี้ จนกระทั่ง ผู้ร่วมงานในทีมทุกฝาย พอใจ กับคุณภาพของบทเรียนเสียก่อน ผู้มีส่วนร่วมในการประเมินคือ ผู้เชี่ยวชาญด้านเนื้อหา ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบ ผู้เรียนที่อยู่ในกลุ่มเป้าหมาย เพื่อชวยในการตรวจสอบเนื้อหา ที่อาจจะสับสน ไม่ชัดเจน ตกหล่น และเนื้อหาที่อาจจะยาก หรือง่ายเกินไป สำหรับผู้เรียน
          5 ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรรแกรม ( Program Lesson)
ขั้นตอนการสร้าง/เขียนโปรแกรมนี้ เป็นกระบวนการเปลี่ยน สตอรี่บอร์ด ให้กลายเป็นคอมพิวเตอร์ช่วยสอน การเขียนโปรแกรมนั้น อาจใช้โปรแกรมภาษาต่างๆ เช่น เบสิก ปาสคาล หรือใช้โปรแกรมช่วยสร้างบทเรียนคอมพิวเตอร์ช่วยสอน เช่น Authoware, Toolbook ปัจจัยหลัก ในการพิจารณาโปรแกรมช่วยสร้างคอมพิวเตอร์ช่วยสอน ที่เหมาะสมนั้น ได้แก่ ฮาร์ดแวร์ ที่ใช้ ลักษณะและประเภท ของบทเรียน ที่ต้องการสร้าง ประสบการณ์ของผู้สร้าง ( โปรแกรมเมอร์) และด้านงบประมาณ
          6 ขั้นตอนการผลิตเอกสารประกอบบทเรียน ( Design Instruction)
 เอกสารประกอบบทเรียน อาจแบ่งได้เป็น 4 ประเภท คือ คู่มือการใช้ของผู้เรียน คู่มือการใช้ของผู้สอน คู่มือสำหรับแก้ปัญหา เทคนิคต่างๆ และเอกสารประกอบเพิ่มเติมทั่วๆ ไป ( เช่น ใบงาน) ผู้สอนอาจต้องการข้อมูล เกี่ยวกับ การติดตั้งโปรแกรม การเข้าไปดูข้อมูลผู้เรียน และการใช้คอมพิวเตอร์ช่วยสอน ในหลักสูตร ผู้เรียนอาจต้องการข้อมูล ในการจัดการกับบทเรียน และการสืบไปในบทเรียน คู่มือปัญหา เทคนิค ก็มีความจำเป็น หากการติดตั้งบทเรียน มีความสลับซับซ้อน หรือต้องการใช้เครื่องมือ อุปกรณ์อื่นๆ เช่น การติดตั้ง แลน เอกสารเพิ่มเติมประกอบ อาจได้แก่ แผนภาพ ข้อสอบ ภาพประกอบ
          7 ขั้นตอนการประเมิน และแก้ไข บทเรียน ( Evaluate and Revise)
ในช่วงสุดท้าย เป็นการประเมินบทเรียน และเอกสารประกอบทั้งหมด โดยเฉพาะ การประเมินในส่วนของการนำเสนอ และการทำงานของบทเรียน ในส่วนของการนำเสนอนั้น ผู้ที่ควรจะทำการประเมินคือ ผู้ที่เคยมีประสบการในการ ออกแบบมาก่อน ในการประเมินการทำงานของบทเรียนนั้น สังเกตพฤติกรรมของผู้เรียน ที่เป็นกลุ่มเป้าหมาย ในขณะที่ใช้บทเรียน หรือสัมภาษณ์ ผู้เรียน หลังการใช้บทเรียน นอกจากนี้ ยังอาจทดสอบ ความรู้ขอผู้เรียน หลังจากที่ได้เรียน จากคอมพิวเตอร์ช่วยสอนนั้นๆ แล้ว ขั้นตอนนี้ อาจครอบคลุม การทดสอบนำร่อง และประเมินจากผู้เชี่ยวชาญ

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น