I Love KittY

วันพุธที่ 16 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2554

โทรทัศน์เพื่อการศึกษา


โทรทัศน์เพื่อการศึกษา
โทรทัศน์เพื่อการศึกษา (Educational Television) เป็น การใช้โทรทัศน์เพื่อวัตถุประสงค์ทางการศึกษา หรืออาจกล่าวได้ว่า โทรทัศน์การศึกษาเป็นผลการนำรูปแบบและเทคนิคของสื่อโทรทัศน์มาประยุกต์ใช้ ร่วมกันเพื่อธุรกิจทางการศึกษาเป็นลักษณะหนึ่งของเทคโนโลยีการศึกษาโดย รายการเหล่านี้จะมีเนื้อหาอย่างกว้างๆ เพื่อส่งเสริมข้อมูลทางการศึกษาโดยเฉพาะการเรียนการสอน 

ระบบการแพร่ภาพและเสียงของโทรทัศน์
แบ่งได้เป็น 2 ระบบ คือ
1. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรเปิด (Open-Circuit Television หรือ Broadcasting Television)   ซึ่งแบบได้เป็น 2 ระบบย่อย คือ
                1.1 ระบบ VHF (Very High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์เพื่อความบันเทิงและการค้า
                1.2 ระบบ UHF (Ultra High Frequency) ใช้ในการแพร่ภาพของสถานีโทรทัศน์ที่มิใช่เพื่อการค้าและสถานีที่ส่งตามสายเคเบิล2. การแพร่ภาพและเสียงในระบบวงจรเปิด (Closed-Circuit Television:CCTV) เป็นการแพร่ภาพและเสียงไปตามสายแทนการออกอากาศ เช่น โทรทัศน์วงจรปิดที่ใช้ในมหาวิทยาลัย 


ประเภทของรายการโทรทัศน์ 
แบ่งได้เป็น 3 ประเภท
1.      รายการโทรทัศน์เพื่อการค้า (Commercial Television:CTV) เป็นรายการที่ให้ความบันเทิงและธุรกิจโฆษณา
2.      รายการโทรทัศน์การศึกษา (Educational Television: ETV) เป็นรายการที่ให้ความรู้ทั่วไปในด้านต่างๆ โดยไม่จำกัดความรู้ของผู้ชมหรือเฉพาะเจาะจงบุคคลกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง
3.      รายการโทรทัศน์การสอน (Instructional Television : ITV) เป็นรายการที่จัดขึ้นตามหลักสูตรทั้งในระบบ และนอกระบบโรงเรียน เพื่อเสนอบทเรียนแก่ผู้เรียนกลุ่มใดกลุ่มหนึ่ง ข้อดีและข้อจำกัดในการใช้โทรทัศน์การศึกษา   

หน่วยงานที่ดำเนินการด้านโทรทัศน์เพื่อการศึกษา

ปัจจุบัน มีหน่วยงานทางด้านการศึกษาที่ดำเนินการผลิตและเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อ การศึกษาสำหรับ กลุ่มเป้าหมาย ทั้งในระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน และการศึกษาระดับอุดมศึกษา ได้แก่
1.ศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ จัดผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา บริการให้แก่ กลุ่มเป้าหมายในโรงเรียน และกลุ่มเป้าหมายนอกโรงเรียน ทั้งระดับประถมศึกษา มัธยมศึกษา อุดมศึกษา รวมทั้งการศึกษาตามอัธยาศัยสำหรับประชาชนทั่วไป โดยมีลักษณะรายการโทรทัศน์ที่ผลิตแยกตามลักษณะ การจัดการศึกษา ดังนี้       
1.1 รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามหลักสูตร ดำเนินการตั้งแต่วางแผนการจัด ผลิต สรรหา ศึกษา วิเคราะห์ ทดลองต้นแบบรายการ พัฒนารายการโทรทัศน์ และวิดีทัศน์เพื่อการศึกษาพร้อมสื่อประกอบ ตามหลักสูตร ทุกระดับการศึกษา ทั้งในระบบโรงเรียน และนอกระบบโรงเรียน สำหรับบริการนักเรียน นักศึกษา ครู อาจารย์ บุคลากรทางการศึกษา และประชาชนทั่วไป รวมทั้งการผลิต และพัฒนารายการ โทรทัศน์ และวิดีทัศน์ เพื่อการศึกษา เพื่อส่งเสริม และพัฒนาคุณภาพ และมาตรฐานการจัดการเรียน การสอนตาม หลักสูตรสำหรับกลุ่มเป้าหมายคนพิการ พร้อมทั้งส่งเสริมการผลิตสื่อการศึกษาเพื่อคนพิการด้วย  
1.2 รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาตามอัธยาศัย ดำเนินการจัดผลิต และพัฒนารายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ตามอัธยาศัย เพื่อส่งเสริมให้มีการศึกษาอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิตตั้งแต่การศึกษาขั้นก่อน ปฐมวัย จนถึง การศึกษาขั้นอุดมศึกษา และส่งเสริมการศึกษาให้กับกลุ่มเป้าหมายพิเศษ เช่น กลุ่มคนพิการ พระ อบต. นักโทษ ชาวเขา เป็นต้น รวมทั้งจัด และผลิตรายการพิเศษเพื่อให้บริการการศึกษาแก่หน่วยงานต่างๆ ทั้งภายใน และภายนอกกระทรวงศึกษาธิการตามที่ได้รับมอบหมาย เพื่อเผยแพร่ออกอากาศทางสถานีวิทยุ โทรทัศน์เพื่อการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ (ETV) สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทยช่อง 11 และ สถานีวิทยุโทรทัศน์อื่นๆ นอกจากนั้นยังจัดทำ และเผยแพร่เอกสารประกอบการรับชมรายการโทรทัศน์ รวมทั้งสำรวจ ติดตาม และประเมินผลการรับชมเพื่อพัฒนารายการ       
1.3 รายการข่าวเพื่อการศึกษา โดยจัดสรุปข่าวในรอบสัปดาห์ และจัดทำสารคดีสั้นเชิงข่าวหรือรายการพิเศษ ที่เป็นประโยชน์ต่อการศึกษา
2.มูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมร่วมกับกรมสามัญศึกษาดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา บริการกลุ่มเป้าหมายในระบบโรงเรียน ระดับมัธยมศึกษา
3. สถาบันเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา บริการกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาของสถาบันในทุกวิทยาเขต
4. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช ดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาบริการกลุ่มเป้าหมายนักศึกษา ของมหาวิทยาลัย
5.มหาวิทยาลัยรามคำแหงดำเนินการผลิตรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษาบริการกลุ่มเป้าหมายนักศึกษาของมหาวิทยาลัย
6. หน่วยงานอื่นๆ ทั้งภายใน และภายนอกกระทรวงศึกษาธิการ นอกจากนี้หน่วยงานอื่นๆ ไม่ได้จัดการศึกษาโดยตรง ก็พยายามที่จะผลิตรายการเพื่อการศึกษา เพื่อตอบสนองความต้องการของกลุ่มเป้าหมายของตน 

การเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
ปัจจุบันการเผยแพร่รายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา ดำเนินการดังนี้
1. รายการที่จัดผลิตโดยศูนย์เทคโนโลยีทางการศึกษา สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียน
    กระทรวงศึกษาธิการเผยแพร่ใน 3 ลักษณะดังนี้   
              1.1 ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 โดยจัดออกอากาศรายการโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กลุ่มเป้าหมายสามารถรับชมได้ทุกจังหวัด  
1.2  ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อการศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ (ETV) ออกอากาศด้วยระบบ DTH ใช้ชุดรับสัญญาณจากดาวเทียมไทยคมโดยตรงในระบบ Ku-Band (ระหว่างเวลา 06.00-  22.00 น.)  
            1.3 การเผยแพร่ด้วยระบบการกระจายสื่อการศึกษา โดยประสานร่วมมือกับหน่วยงานเครือข่าย สำนักบริหารงานการศึกษานอกโรงเรียนจัดสำเนารายการเพื่อการศึกษาในรูปแบบวีดิทัศน์
จัดส่งตรงไปสู่สถานีปลายทาง คือ ศูนย์การเรียนชุมชน ซึ่งกระจายอยู่ทุกตำบลทั่วประเทศ
ประมาณ 7,500 แห่ง เพื่อให้กลุ่มเป้าหมายได้ใช้เป็น สื่อประกอบการศึกษาด้วยตนเอง 2. รายการที่จัดผลิตโดยมูลนิธิการศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมร่วมกับสำนักงานคณะกรรมการ  การศึกษาขั้นพื้นฐานแพร่ภาพการออกอากาศ ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์เพื่อ การศึกษา กระทรวงศึกษาธิการ โดยการเช่าช่อง  สัญญาณดาวเทียมไทยคม ย่านความถี่ Ku-Band จำนวน 7 ช่องสัญญาณ
3. รายการที่จัดผลิตโดยมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีราชมงคล กระทรวงศึกษาธิการ แพร่ภาพออกอากาศโดยการเช่า ช่องสัญญาณเทียม ย่านความถี่ C-Band จำนวน 1 ช่องสัญญาณ
4. รายการที่จัดผลิตโดยมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช แพร่ภาพออกอากาศโดยการเช่าเวลาออก
อากาศของ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์ และมูลนิธิการ
ศึกษาทางไกลผ่านดาวเทียมโรงเรียนวังไกลกังวล หัวหิน
5. รายการที่จัดผลิตโดยมหาวิทยาลัยรามคำแหง แพร่ภาพออกอากาศโดยการเช่าเวลาออกอากาศ
ของ สถานีวิทยุโทรทัศน์แห่งประเทศไทย ช่อง 11 กรมประชาสัมพันธ์


ประโยชน์ของโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1.      สามารถใช้ในสภาพที่ผู้เรียนมีจำนวนมากและผู้สอนมีจำนวนจำกัด
2.      เป็นสื่อการสอนที่สามารถนำสื่อหลายอย่างมาใช้ร่วมกันได้
3.      เป็นสื่อที่ช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการเรียนการสอนได้โดยการเชิญผู้เชี่ยวชาญมาเป็นผู้สอนทางโทรทัศน์
4.      สามารถสาธิตได้อย่างชัดเจน 

ข้อจำกัดของโทรทัศน์เพื่อการศึกษา
1.      โทรทัศน์เป็นการสื่อสารทางเดียวผู้เรียนและผู้สอนไม่สามารถพูดจาโต้ตอบกันได้
2.      อาจเกิดอุปสรรคทางด้านการสื่อสาร เช่น กระแสไฟฟ้าขัดข้อง หรือสิ่งแวดล้อมของผู้เรียนไม่เอื้ออำนวย
3.      จำเป็นต้องมีค่าใช้จ่ายสูงในการจัดซื้ออุปกรณ์ที่ผลิตรายการที่มีคุณภาพได้ 



อ้างอิง : http://learners.in.th/blog/educationalinnovation/124957

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น